Meditation

 

Wir nehmen eine bequeme Sitzposition ein. Dann legen wir das rechte auf das linke Bein, und achten

 

darauf,dass der Rücken gerade und unverkrampft ist. Die Hände ruhen im Schoß, wobei die rechte Hand in der linken  liegt und die Daumen sich berühren.

 

Jetzt atmen wir tief ein und beim Ausatmen schließen wir die Augen. Beim einatmen denken wir an  Silbe  Put, beim ausatmen an die Silbe to. Die Bedeutung dieses Wortes ist „erwacht bleiben“

 

Unsere Aufmerksamkeit richten wir auf das Ein-und Ausströmen des Atems an  der Nasenspitze.   

 

Alle aufsteigenden Bewusstseinseindrücke werden nicht bewertet, und nicht verfolgt.

 

Werden wir abgelenkt, so richten wir  unsere Aufmerksamkeit erneut auf den Atem aus.

 

 

 

Ende der Meditation:

 

Wir haben uns während der Meditation darin geübt, unsere Konzentration zu steigern, und einen Zustand innerer Ruhe zu erlangen. Diese nützlichen Fähigkeiten versuchen wir auch im Alltag aufrecht zu erhalten. Das wird uns und anderen von großem Nutzen sein, Leiden zu verringern.

 

Bevor wir unsere Meditation beenden, atmen wir noch dreimal tief ein und aus und öffnen dann die Augen.

  

 

 

Einführung in die Sitz-Meditation in der Therevada Tradition:

 



Zum Anfang der Meditation beginnen wir, uns aufrecht hinzusetzen und gleichmäßig und entspannt ein- und auszuatmen.

Wir sitzen im Schneidersitz, legen  das rechte Bein auf das Linke und im Schoß unsere rechte Hand auf die Linke. Es ist wichtig den Oberkörper aufzurichten und eine gerade Haltung beizubehalten.

Während der Meditation sollten wir ein positives Bewusstsein wahren, sich übermäßig anzustrengen oder sich in die Meditation zwingen zu wollen führt nicht zum Erfolg.

Wir atmen regelmäßig und natürlich ein- und aus. Wir konzentrieren uns völlig auf die Bewegung des Atems in unserem Körper und beachten den Anfang, die Mitte und das Ende des Atemzugs.

Es hilft, sich während der Meditation auf ein Wort oder "Mantra" zu konzentrieren um das umherschweifen der Gedanken zu unterbinden. Wir wählen dafür die Worte BUTTO (Buddha) DHAMMO (Dharma) und SANGKO (der Sangha - die Gemeinschaft der im Sinne Bhuddas strebenden Menschen).
Wir denken also BUTTO, DHAMMO, SANGKO und konzentrieren uns völlig auf diese sechs Silben. Als Mantra wählen wir das Wort BUTTO. Während des Einatmens denken wir                                                                                                                                            BUT- und während des ausatmens -TO. Immer und immerwieder.

Wir halten unseren Geist davon ab von unserem Meditationsobjekt abzuschweifen und an andere Dinge zu denken. Wir sind nur in unserem Innern und bei unserer Atmung. Schweifen die Gedanken ab, was sie am Anfang unweigerlich oft tun werden, üben wir Geduld, wie mit einem Kleinkind, und bringen unsere Konzentration zurück auf unser Mantra

 

  BUT-TO.

Infolgedessen beruhigt sich unser Geist und wir gewinnen Kraft und neue Energie. Dieser Effekt verstärkt sich mit jeder  Übung  (Sitzung.)

Ablenkung in der Meditation:

Während unserer Meditation werden Anfangs unerwünschte Gedanken unseren Geist ablenken, Dies ist nur natürlich, das wir noch nicht an die Meditation gewöhnt sind. Anstatt die Meditationssitzung wegen der Ablenkung einfach zu beenden betrachten wir mit gesammeltem Bewusstsein die Verfassung unseres Geistes. Man sollte nicht einfach abrupt aufstehen und die Meditation beenden. Sinnvoller ist es, sich immerwieder von neuem seiner Gemütsverfassung und seines Atems bewusst zu werden .

Sollten die Beine während der Meditation eingeschlafen sein, nutzen wir dieses Gefühl als Objekt für  unsere Meditation.  Unser Bewusstsein konzentriert sich auf dieses Symptom und wir empfinden es nicht als angenehm oder unangenehm, sondern beobachten es einfach.

Durch wiederholte und geduldige Meditation trainieren wir unser Bewussstein, werden ruhiger und beginnen METTA- die buddhistische Gnade und Dankbarkeit vor allem Leben zu verspüren. So wird aus einem untugendhaften, nervösen Menschen allmählich ein weiser, tugendhafter und mitfühlender Mensch.

 

การเจริญเมตตาภาวนา

 

 

สำรวมใจเข้ามาภายใน มาประพฤติปฏิบัติเจริญภาวนา หายใจเข้านึกว่า พุธ หายใจออกนึกว่า โธ คิดถึงพุธโธ ธัมโม สังโฆ ในดวงจิตดวงใจของเรา ซึ่งเราท่านทั้งหลาย ได้เสียสละภาระหน้าที่ ได้มาบวชเนกขัมมะ บารมีชีประขาวก็นับว่าเป็นโอกาสอันดี เสียภาระหน้าที่เรานี้ ซึ่งหาโอกาสได้ยาก เช่นเดียวกันนี้ เพราะต่างมีภาระหน้าที่เรื่องต่างๆนาๆ ดั้งนั้นเราได้พากันเข้ามาก็พากันพินิจพิจารณา ดูจิตดูใจดูสภาวะในกายของเราต่อไป ทุกผู้ทุกคนทุกท่านมีสภาวะเดียวกันที่นี้พร้อมที่จะประพฤติปฏิบัติ เจริญเมตตาภาวนา ทางจิตใจของเราให้มีที่พึ่ง ที่อาศัยในดวงจิตดวงใจของเราเอาไว้ เพราะที่พึ่งของเรานั้นเราทำได้ รักษาได้ ในขณะที่เรามีพละพลังกำลังสติปัญญา ยังเป็นมนุษย์  มีบุญมีวาสนา หมายความว่า ยังมีโอกาสที่จะสร้างคุณงามความดีต่อไป  ฉะนั้นการเกิดมาแต่ละครั้งแต่ละคราวชีวิตของเราก็สำคัญ ความเป็นอยู่ของเรานั้นต้องอดทน และต้องพากเพียรขยันสู้กันต่อไป เหมือนเราท่านทั้งหลายได้พากันสวดมนต์สาธยายมานั้น นึกถึงคุณงามความดีขององค์สมเด็จพระชินสีห์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ทรงประธานแนะนำพร่ำสั่งสอนเวไนยสัตว์โลกทั้งหลายให้รู้จักตัวตนบุคคลเราเขา ไม่ประมาทเขา ไม่ประมาทเรา ให้รู้จักพินิจพิจารณาสภาวะเอา ว่าสภาวะร่างกายของเราเป็นอย่างไร ไม่เที่ยงไม่จีรัง ยั่งยืน ไม่แน่นอนเสมอไป ไม่นานนักมันก็พลัดพรากจากโลกนี้ไป ไม่ว่าใครทั้งนั้นหนีไปไม่พ้น คือความตายนี้แหละคือวาระสุดท้ายของเราท่านทั้งหลายแล้ว ฉะนั้นขอให้จงตั้งจิตใจของเราให้แน่วแน่ อยู่กับคำบริกรรม พุทโธ พุทหายใจเข้า โธหายใจออก เท่านั้นก็เพียงพอ เรื่องอื่นใดๆไม่ต้องไปคิด ไม่ต้องคำนึงรำพึงถึง ขอให้คิดถึงดวงจิตดวงใจ ดูสภาวะภายในของเราเท่านั้นก็เพียงพอ ดูลมหายใจเข้าก็ให้มันรู้ ดูลมกายใจออกก็ให้มันรู้ ดูให้เข้าใจในตัวของเรา  ไม่มีใครทำให้เราได้หรอก นอกจากตัวเรามองตัวเราเท่านั้นเอง สามารถทำให้รู้ในตัวของเรา เจ็บปวดรวดร้าวฉันใด เราก็รู้อยู่แก่ใจของเรา นี้ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฎขึ้นในตัวของเรา ปัจจัตตัง รู้เฉพาะตน บุคคลที่ลงมือปฏิบัติ ลงมือกระทำ ผู้นั้นย่อมรู้เห็นด้วยตัวของเราเอง เปรียบเสมือนผู้บริโภคอาหาร ย่อมอิ่มหน่ำสำราญเช่นเดียวกัน ฉันใดก็ฉันนั้น การประพฤติปฎิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงมานะ สังวะโร  สาธุ จงพินิจพิจารณาน้อมเข้ามาสู่สภาวะร่างกายจิตใจของเรา อย่าให้ซัดส่ายไปซ้ายไปขวา ไปหน้าไปหลัง ขอให้เราจงระมัดระวัง จงน้อมเข้ามาสู่สภาวะภายในอย่างเดียวเท่านั้น มันคิดนึกปรุงแต่งฉันใดไม่ต้องปล่อยไปตามมัน พยายามประคับประคอง ดูให้มันรู้ดูให้มันเข้าใจ ถ้าทนไม่ได้ทนไม่ไหว ให้มันออกไป มันออกไปแต่เรารู้ เราตั้งสติดูส่งเสริมดูว่ามันไปตรงไหนอย่างไร ไปนู่นไปนี่ไปซ้ายไปขวาไปหน้าไปหลัง ไปเบื้องบน เบื้องล่าง อะไรต่างๆนานา ถ้าเรารู้ว่ามันไป แต่เราไม่ตาม ไม่ส่งพละพลังให้มันแล้ว มันจะไปได้อย่างไรเล่า เราพยายามบังคับบัญชา คือตัวสติ ตัวปัญญา สติคือความระลึกได้       สัมปะชัญญะ รู้ตัวในขณะนี้เดี่ยวนี้ เวลานี้เป็นหน้าที่ของเราทั้งหลาย ได้พากันประพฤติปฎิบัติเจริญเมตตาภาวนาก็นับว่าเป็นบุญวาสนาบารมีของเราแล้ว หาบุญไหนล้ำเลิศประเสริฐศรี เท่ามนุษย์นี้ไม่มี ฉะนั้นเราท่านทั้งหลายนับว่าเป็นผู้โชคดีมีชัย มนุษย์นี้รู้จักบุญคุณประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ นี่แหละคน จงภาคภูมิใจเอาไว้ที่เราเกิดมาเป็นชาวพุทธศาสนิกชน ที่รู้จักหน้าที่ของเรา นี้บุญของเราเกิดขึ้นแล้ว เรามีคุณค่าแล้ว ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีจิตใจอันสูงสุด มีเมตตากรุณาปราณี มีมุทิตา พลอยยินดี กับคนอื่นได้ดี ก็อนุโมทนาสาธุ สาธุการกับเขาด้วย เขาทำดีก็อนุโมทนาสาธุการกับเขา อย่าอิจฉาริษยาตาร้อนเขา คำว่าอิจฉาริษยาตาร้อนเขา เราก็ร้อนนอนไม่หลับกระสายกระสับอยู่ทุกเวลา มีใครปรารถนาบ้างเล่า อาตมาเชื่อว่าไม่มีใครปรารถนา หนึ่งความไม่สบายอกสบายใจ ไม่มีใครปรารถนา ส่วนมากปรารถนาความสุขกายสบายใจ ไม่มีพิษ ไม่มีภัย ไม่มีโรค ไม่อันตรายใดๆ นี้แหละสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรารถนาของเราท่านทั้งหลายทุกผู้ทุกคนนี้สภาวะเป็นอย่างนี้ เราก็สร้างของเราต่อไป  เจ็บปวดรวดร้าวอย่างไร เราก็สู้กันต่อไป ก็ได้มาประพฤติปฏิบัติเจริญเมตตาภาวนา ย่อมปวด ย่อมมึน ย่อมชาเป็นธรรมดา ต้องตรวจตราพินิจพิจารณา มิใช่ง่ายหรอก ถ้าหากเรามีสติ มีปัญญา เราก็รู้เท่าทันปัญหาหรือกลมารยาของมันแล้วไซร้ เราก็ย่อมเข้าใจได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นก็ขอให้สำรวมดูจิตดูใจนั้นต่อไป อย่าลืมลมหายเข้า ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าก็ให้มันรู้ ลมหายใจออกก็ให้มันรู้ ดูให้เข้าใจ ด้วยตัวของเรา พยายามประคับประคองเอาไว้ ดูเป็นอย่างไร นี้และชีวิตชีวาคนเรา เกิดมาก็เป็นเช่นนี้ หลีกหนีไปไม่พ้น จากพยาธิทั้งหลายจากความเจ็บไข้ได้ป่วย เนื่องจากความเกิด มันจึงเป็นเช่นนี้ ถ้าไม่เกิดมันก็ไม่มี ทุกเพศทุกวัยทุกผู้ทุกคนเช่นเดียวกัน เราท่านทั้งหลายได้พากันมาก็มีเวลาเพียงน้อยนิด แต่ก็ไม่เป็นไรกัน พยายามทำจิตใจของเราให้เป็นพละพลัง เป็นกำลังกันต่อไป เวลาเราไปบ้านไปเรือน เราก็สามารถประพฤติปฏิบัติเจริญเมตตาภาวนากันได้เช่นเดียวกัน เช่นเราอยู่บ้านอยู่เรือน กราบพระไหว้พระสวดมนต์เสียก่อน เสร็จเรียบร้อยแล้วก่อนหลับก่อนนอน เราก็นั่งภาวนาสัก 5 นาที 30 นาทีก็ดี 1 ชั่วโมงก็ได้ ดีกว่าเราไม่ทำเสียเลย ฉะนั้นก็เป็นโอกาสอันดีนะ พยายามประพฤติปฏิบัติกันต่อไปสู้กันต่อไป อย่าลืมลมหายใจกันเท่านั้นก็พอ พยายามสังเกตดูให้เข้าใจ ว่าจิตใจของเราอยู่กับลมหายใจหรือไม่ พยายามประคับประคองไว้  ก่อนที่จะถอน ก่อนจะเลิกลา ควรพินิจพิจารณาเอาไว้ว่าจิตใจของเราเป็นอย่างไร

 

                 วันนี้เราท่านทั้งหลายได้พากันทำวัตรสวดมนต์ตั้งแต่เริ่มต้น และได้เจริญสมาธิภาวนา ขณะนี้ก็ใกล้เวลาที่จะเลิกละ การเจริญเมตตาภาวนา ก่อนที่จะเลิกก็ตรวจตราดูให้ดี และก็จะได้แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิด ณ สถานที่แห่งนี้ ตลอดจนถึงเทพาอารักษ์ที่มาปกปักษ์รักษา จงมารับส่วนบุญส่วนกุศล กับเราท่านทั้งหลายทุกผู้ทุกคนโดยพร้อมเพรียงกัน เพราะว่าอยู่ที่ใดที่หนึ่งก็ดี ย่อมมีวิญญาณสิงห์สถิตอยู่ ณ ที่นั้น และมีพระภูมิเจ้าที่สิงสถิตอยู่ เช่นเดียวกันตลอดจนกระทั้งรุกขเทวดา อินทร์ พรหม ต่างๆนาๆ ซึ่งสิงสถิตย์อยู่ ณ สถานที่นั้น ฉะนั้นเราท่านทั้งหลายได้มาประพฤติปฏิบัติ เจริญเมตตาภาวนา เราก็เมตตาให้สรรพสัตว์ ดังกล่าวที่ผ่านมา มีตัวตนก็ดี ไม่มีตัวตนก็ดี ขอให้เราท่านทั้งหลายจงตั้งจิตไมตรี พร้อมที่จะอุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่ ปิยชน มีมารดา บิดา ปู่ย่า ตายาย ญาติสนิทมิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ที่มีทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ ที่มีความสุขก็ขอให้มีความสุขยิ่งๆขึ้นๆไป คนที่มีปัญหาใดๆกับเราก็ขอให้อภัยโทษ อภัยทานซึ่งกันและกัน โดยไม่ต้องจองผลาญซึ่งกันและกัน จงอโหสิกรรมเอาไว้ถ้ารู้จักอโหสิกรรม รู้จักปล่อยรู้จักละ รู้จักวางแล้ว มันมีความสุขกายสุขใจอยู่ร่ำไป ฉะนั้นในวันนี้การประพฤติปฏิบัติเจริญเมตตาภาวนา ซึ่งสมควรแก่กาลเวลาพอดี ขอความสุขสวัสดีจงปรากฏมีแก่ท่านทั้งหลาย โดยถ้วนหน้าทุกท่านเทอญ

                                                                                            ขอเจริญในธรรม อนุโมทนา สาธุ

                                                                                                                  คุณสัมปันโน ภิกขุ

วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak)

                 เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม  ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท

 

            วันวิสาขบูชานั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน)

 

             โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน

 

              วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

 

              วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากล" (International Day) ตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 54/112 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542

 

               ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือ ความจริงของโลก แก่ชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 นี้ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน

 

 (ที่มา  ... https://th.wikipedia.org/wiki/วันวิสาขบูชา  )

Wesak

This most important Buddhist festival is known as either Vesak, Wesak or Buddha Day, and is celebrated annually on the full moon of the ancient lunar month of Vesakha, which usually falls in May, or in early June.

At Vesak Buddhists commemorate the birth of the Buddha-to-be, Siddhattha Gotama, his Enlightenment at the age of 35 when he became the Buddha and his final 'passing' into Nirvana at the age of 80, no more to be reborn. Buddhist scriptures relate that each of these three significant events occurred on a full moon of the Indian lunar month of Vesakha.

 

Traditionally, his birth is supposed to have been in 623 BC but the Buddhist calendar is counted from his final passing, eighty years later. The older tradition of Vesak is to celebrate all three events but there are some more recent Buddhist schools and groups that celebrate just the birth and others only the Enlightenment.

 

In Buddhism, death is not the end of life; it teaches rebirth and differentiates it from reincarnation because Buddhism does not recognise a self or soul that is continually reappearing in a new form. Death for the unenlightened, whose minds are still infected with desire, is followed by yet another life. But for the Enlightened who have extinguished all desire, including the desire to be born again, there is no more rebirth. So Buddhists don't usually refer to the Buddha's death but to his passing, into Nibbana or Nirvana.

 

Only by passing into Nirvana can a person end the cycle of death and re-birth. 'The Buddha' is not a personal name but a title, and can be translated as 'the Enlightened One' or 'the One Who Knows'. He was not born the Buddha but became the Buddha through his realisation of full and perfect Enlightenment. This state is also known as Nirvana (Sanskrit)or Nibbana (Pali) and occurs when a person sees and understands the true nature of all things.

 

As a result, all their greed, hatred and delusion is extinguished, which in turn means that there will be no more re-birth. The Buddha achieved the state of nirvana and this is celebrated on Vesak.

 

There are some cultural and local differences in how the various Buddhist groups and nations celebrate Vesak, but broadly speaking devout Buddhists will try to attend their local temple for at least part of the day, while some remain there throughout the day and night of the full moon. The celebration will include the practices of Giving, Virtue and Cultivation and the doing of good and meritorious deeds.

 

Giving usually involves bringing food to offer and share, as well as supplies for the temple and symbolic offerings for the shrine. Virtue is observed by reaffirming commitment to the moral precepts. Cultivation can include chanting, meditation and listening to sermons.

 

(source: http://www.bbc.co.uk/religion/religions/buddhism/holydays/wesak.shtml)

Vesak (Visakhabuja day)

 

Das wichtigste buddhistische Fest ist bekannt als das Visakh, Wesak oder einfach als Buddha Tag. Zelebriert wird das Fest in einer Vollmondnacht, also etwa im Mai oder im frühen Juni.

Das Vesakhfest erinnert an die Geburt, die Erleuchtung (Nirwana), die Buddha im Alter von 35 Jahren bekam und das vollkommene Verlöschen im Alter von 80 Jahren(Parinirvana) des Buddha Siddhartha Gautama und damit seinen Austritt aus dem Kreislauf der Wiedergeburt (Samsara). Heilige buddhistische Schriften sich darauf, dass jedes dieser drei bedeutenden Ereignisse auf einem Vollmond des indischen Mondmonats von Vesakha auftrat.

 

Der Sage nach soll die Geburt Buddhas etwa im Jahre 623 n.Chr. gewesen sein. Jedoch ist der buddhistische Kalender um acht Jahr versetzt. Die ältere Tradition des Visakhabucha Fests besagt, dass alle drei Ereignisse zelebriert werden sollen. Doch die buddhistischen Schulen und Gruppen zelebrieren jedoch nur die Geburt und das vollkommene Erlöschen.

Im Buddhismus bedeutet der Tod nicht das Ende des Lebens, sondern lehrt die Wiedergeburt und unterscheidet sich von der Wiederverkörperung, weil der Buddhismus eine Seele in einer neuen und wiederkehrenden Form nicht anerkennt. Tod als das Unaufgeklärte, dessen Köpfe immer noch mit Sehnsucht infiziert ist, folgt ein weiteres Leben. Aber für die Erleuchteten, die das Verlangen ausgelöscht haben, einschließlich denen, die das Bedürfnis haben die Wiedergeburt zu erleben, gibt es keine Wiedergeburt. So verweisen die Buddhisten gewöhnlich nicht auf den Tod des Buddhas, sondern auf seine Weitergabe in das Nibbana bzw. Nirvana

 

Nur durch den Übergang in das Nirvana kann eine Person den Zyklus des Todes und der Wiedergeburt beenden. „Der Buddha“ ist kein Vorname, aber ein Titel und kann übersetzt werden als „Der Erleuchtete“ oder als „Der eine der es weiß“. Buddha wurde nicht als Buddha geboren, aber er wurde im Rahmen seiner Erleuchtung zum Buddha. Dieser Zustand ist auch als Nirvana (Sanskrit) oder als Nibbana (Pali) bekannt und tritt auf, wenn eine Person die wahre Natur aller Dinge sieht und versteht.

 

Infolgedessen werden Gier, Hass und Täuschung ausgelöscht, was wiederum bedeutet, dass es keine Wiedergeburt mehr geben wird. Buddha erreichte den Zustand des Nirvanas und das wird im Visakhabucha Fest zelebriert.

 

Es gibt einige kulturelle und örtliche Unterscheidungen wie das Visakhabucha Fest gefeiert wird, aber im Großen und Ganzen versuchen die heiligen Buddhisten, ihren nahegelenden Tempel für mindestens einen Teil des Tages besuchen, während wiederum einige dort den ganzen Tag und die Nacht verbringen.

 

In der Regel bringen die Buddhisten Speisen und Getränken mit um es den Mönchen zu überreichen, es mit den anderen zu teilen und den Verstorbenen Menschen an der Grabstätte. Eine buddhistische Tugend beinhaltet daher ein bestärkendes Engagement. Kultivierung beinhaltet wiederrum buddhistische Gesänge, Meditationen und das Hören von buddhistischen Predigten.