วัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์และมูลนิธิวัฒนธรรมไทย-เนเธอร์แลนด์   (Stichting Wat Buddha Parami Thai-Nederland Culture)

 

หลักการและเหตุผล

          เนื่องจากเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2549 (2006) โยมนันทนี นพชูวงศ์สกุล/เอลเคอมา (ส้ม) ได้เรียนปรึกษาหลวงพ่อที่วัดพุทธบารมี ฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมัน ว่าทางเหนือของเนเธอร์แลนด์ ยังไม่มีวัดมาตั้งอยู่เลย หากใช้เวลาเดินทางไปวัด จากทางเหนือก็จะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงขึ้นไปไม่ว่าจะไปวัดไหนก็ตาม จึงได้เรียนปรึกษาหลวงพ่อที่จะริเริ่มให้มีวัดที่ทางแถบนี้ ปีต่อๆมา ก็ยังเรียนปรึกษาหลวงพ่อเช่นนี้อยู่ตลอด จนกระทั่งเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2555 (2012) ได้เรียนปรึกษาหารือหลวงพ่ออีกครั้ง และหลวงพ่อเห็นดีว่าควรให้โครงการดี ๆ อย่างนี้เกิดขึ้น จึงได้มอบหมายให้หาที่ ที่จะสร้างวัดในบริเวณทางเหนือของเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยเขต Groningen, Hogezand, Winschoten, Veendam, Borger, Musselkanaal, Stadskanaal, Beerta, ฯลฯ และสถานที่ใกล้เคียงบริเวณพรมแดนทางเหนือของเนเธอร์แลนด์-เยอรมัน

   

          โดยมีสมาคมวัดพุทธบารมี วัฒนธรรมไทย-เยอรมัน Wat Buddhabharami TDKV e.V.  ซึ่งตั้งอยู่ Wöschenhof 11-22045 Hamburg Germany เป็นผู้รับผิดชอบ และมีคุณนันทนี นพชูวงศ์สกุล/เอลเคอมา (ส้ม) ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัด Grevelingen laan 11, 9501RV, Stadskanaal , The Netherlands ประสานงานในทุก ๆ ด้านเพื่อจัดตั้งวัดให้ได้ในเขตภาคเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์

          มีผู้บริหารสมาคมวัดพุทธบารมีนั้นก็คือ พระครูคุณสารโสภณ หรือหลวงพ่อทองพูน เจ้าอาวาสวัดพุทธบารมี ประธานกรรมการที่ปรึกษาบริหารคณะสงฆ์ (ธรรมยุต) ในสหภาพยุโรป ประธานสมาคมวัดพุทธบารมี วัฒนธรรมไทย-เยอรมัน และประธานสมาคมวัดพุทธเมตตาบารมี และพระครูธรรมรัตน์กิจสุนทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพุทธบารมีและเหรัญญิกสมาคมวัดพุทธบารมีไทย-เยอรมัน ร่วมเป็นผู้พลักดันสร้างวัดใหม่ให้เกิดขึ้น

 

 

มีวิธีดำเนินการในการจัดสร้างวัด ดังต่อไปนี้

           1.หาทำเลที่เหมาะสมและมีพื้นที่เพียงพอที่จะสามารถรองรับพทุธศาสนิกชนและผ้สูนใจร่วมกิจกรรมทาง พระพทุธศาสนาและสามารถสร้างเป็นวัดได้ต่อไป

           2.ติดต่อดูสถานที่และนัดเจรจาต่อรองราคา

           3.ดำเนินการระดมหาปัจจัยและหาที่ปรึกษาเพื่อจะสร้างวัดให้แล้วเสร็จเช่น

                 *การโฆษณาผ่านเฟสบ๊คุของทางวัดผ่านเฟสบ๊คุของผ้สูนใจกิจกรรมของทางวัดและผ่านเฟสบุ๊คอื่นๆ

                 * การบอกบุญผ่านไปตามสถานที่จัดงานต่างๆ

                 *สอบถามไปยังวัดในประเทศเนเธอร์แลนด์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกฏระเบียบการสร้างวัด

                 *จัดกิจกรรมเพื่อหาปัจจัยสร้างวัดและให้พุทธศาสนิกชนกับพระสงฆ์ได้ปฏิบัติธรรมร่วมกันเช่น งานวันมาฆบูชา

                 *ผู้มีจิตศรัทธาโอนเงินเข้าบัญชีของทางวัดพุทธบารมีหรือบัญชีพระครูคุณสารโสภณ ประเทศเยอรมนี

หรือบัญชี นันทนี นพชูวงงศ์สกุล ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยระบุ : บริจาคสร้างวัดพุทธบารมี เนเธอร์แลนด์และอื่นๆ

           4.ปัจจัยที่ได้มาหากเพียงพอก็จะจัดซื้อวัดในครั้งเดียว  หากไม่พอก็จะนำวัดเข้าธนาคารผ่อนชำระรายเดือนต่อไป

           5.จดทะเบียนเป็นมูลนิธิพร้อมกับการเซ็นต์สัญญาซื้อสถานที่ที่สร้างวัดต่อไป

           6.บอกบุญผู้มีจิตศรัทธา เพื่อขอแรงกายแรงใจ เพื่อซ่อมแซมบูรณะวัดต่อไป

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

           1.หาเงินปัจจัยจัดซื้อวัดได้ส่วนหนึ่งหรือเต็มจำนวน

           2.พุทธศาสนิกชนและผู้ที่สนใจในพระพุทธศาสนา

           3.จะมีที่ทำกิจกรรมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่ง

           4.จะมีศูนย์กลางความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ  เพิ่มมากขึ้นสำหรับคนไทย

           5.คาดว่าจะได้รับการตอบรับอย่างดีจากพุทธศาสนิกชน

 

          จากวันเริ่มต้นในการสร้างวัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์ จนถึงเวลานี้ได้รับการร่วมมือร่วมใจกันทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายบรรพชิต ซึ่งนำโดยพระครูคุณสารโสภณ หรือหลวงพ่อทองพูน ในฐานะเป็นหัวหน้าโครงการในการจัดสร้างวัดขึั้นในดินแดนแห่งใหม่ หากไม่นับวัดสาขาต่าง ๆ ของวัดพุทธบารมีในเขตประเทศเยอรมัน เช่น วัดพุทธบารมีโบคุม วัดพุทธเมตตาเบรเมนแล้ว วัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์ถือเป็นวัดในสาขาแห่งแรกที่สร้างขึ้นนอกเขตประเทศเยอรมัน

           ฝ่ายฆราวาสก็ได้รับการส่งเสริมและอุปถัมภ์จากคุณโยมนันทนี นพชูวงศ์สกุล/เอลเคอมา (ส้ม) ตลอดทั้งญาติธรรมทั้งประเทศเนเธอร์แลนด์และเยอรมันต่างร่วมด้วยช่วยกันด้วยเจตนาร่วมกันว่าปรารถนาจะให้มีวัดเกิดขึ้นให้จงได้ เพื่อเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่ญาติธรรมทางทิศเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์และแถบประเทศใกล้เคียง

           ในส่วนของพระมหาเถระที่ให้คำแนะนำในการจัดสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จอีกรูปหนึ่ง คือ  พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระเทพพุทธิมงคล (สวัสดิ์ อตฺถโชโต) ประธานสงฆ์วัดพุทธาราม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป ที่แนะนำให้ตั้งเป็น "สมาคม" เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการจัดตั้งวัดในภายภาคหน้า ทำให้คณะผู้บริหารโครงการจัดสร้างวัดพุทธบารมี จึงได้ตกลงร่วมกันจัดตั้งเป็น "มูลนิธิวัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์ วัฒนธรรมไทย-เนเธอร์แลนด์ หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Stichting Wat Buddha Parami Thai-Nederland Culture"  แต่ก็เป็นที่ทราบโดยทั่วกันในหมู่พุทธศาสนิกชนว่า "วัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์" 

           ในวันเปิดวัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์นับเป็นบุญต่อเหล่าชาวพุทธในต่างแดนที่ได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จากพระเดชพระคุณพระราชปัญญาวิสารัท หรือ หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคาโม วัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ที่ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดวัดดังกล่าวด้วย

            วัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากทุก ๆ ฝ่ายโดยเฉพาะคณะญาติธรรมจากประเทศเยอรมัน ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศไทย จนถึงปัจจุบันสถานภาพของวัดได้ปลดชำระหนี้สินจนบริบูรณ์แล้ว (ซึ่งหลวงพ่อทองพูนได้เล่าให้ฟังว่า "ภายหลังมีบุคคลจำนวนมากได้ทราบว่าทางวัดยังค้างชำระหนี้ในการจัดซื้อวัดและที่ดิน จึงได้นำเงินมาถวายเพื่อร่วมสร้างวัดดังกล่าวจนสามารถชำระหนี้ได้เสร็จภายในเวลา ๑๑ วัน สรุป วัดได้ติดหนี้แก่เจ้าหนี้เพียงแค่ ๑๑ วันเท่านั้น นับว่าอัศจรรย์ยิ่งนัก คงเป็นนิมิตหมายที่ดีแม้แต่เหล่าเทพเทวาทั้งหลายต่างก็พลอยอนุโมทนาส่งเสริมกับการมาเผยแผ่พระศาสนาในครั้งนี้ของเหล่าพระสงฆ์ที่ทรงศีลทรงธรรม" จนสามารถชำระหนี้ได้บริบูรณ์"

            วัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์ จึงเป็นความภาคภูมิใจของชาวพุทธทุกเชื้อชาติ ที่ต่างได้ร่วมกันสร้างวัดเพื่อให้เป็นที่พำนักของเหล่าพระสงฆ์องค์เณรที่มาจากทิศทั้ง ๔ ในฐานะเป็น เนื้อนาบุญอันบริสุทธิ์ หากหว่านพืชลงคราวใดหรือทำทานลงคราวใดก็ย่อมได้อานิสงส์หรือประโยชน์มหาศาล เพราะนาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นนาเกลือ นาไร่ นาข้าว ก็หาสู่้นาบุญไม่ บุญนี้แหละที่จะเป็นมิตรและคอยติดตามเราไปทุกหนทุกแห่งเป็นที่พึ่งแก่เราคอยส่งเสริมสนับสนุนให้เรามีความสุขทั้งกลางวันและกลางคืน สมดังพุทธศาสนสุภาษิต ว่า "ถึงคราวสิ้นชีพ บุญก็ช่วยให้สุขได้" 

 

 

วัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์และมูลนิธิวัฒนธรรมไทย-เนเธอร์แลนด์   (Stichting Wat Buddha Parami Thai-Nederland Culture)

 

หลักการและเหตุผล

          เนื่องจากเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2549 (2006) โยมนันทนี นพชูวงศ์สกุล/เอลเคอมา (ส้ม) ได้เรียนปรึกษาหลวงพ่อที่วัดพุทธบารมี ฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมัน ว่าทางเหนือของเนเธอร์แลนด์ ยังไม่มีวัดมาตั้งอยู่เลย หากใช้เวลาเดินทางไปวัด จากทางเหนือก็จะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงขึ้นไปไม่ว่าจะไปวัดไหนก็ตาม จึงได้เรียนปรึกษาหลวงพ่อที่จะริเริ่มให้มีวัดที่ทางแถบนี้ ปีต่อๆมา ก็ยังเรียนปรึกษาหลวงพ่อเช่นนี้อยู่ตลอด จนกระทั่งเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2555 (2012) ได้เรียนปรึกษาหารือหลวงพ่ออีกครั้ง และหลวงพ่อเห็นดีว่าควรให้โครงการดี ๆ อย่างนี้เกิดขึ้น จึงได้มอบหมายให้หาที่ ที่จะสร้างวัดในบริเวณทางเหนือของเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยเขต Groningen, Hogezand, Winschoten, Veendam, Borger, Musselkanaal, Stadskanaal, Beerta, ฯลฯ และสถานที่ใกล้เคียงบริเวณพรมแดนทางเหนือของเนเธอร์แลนด์-เยอรมัน

   

          โดยมีสมาคมวัดพุทธบารมี วัฒนธรรมไทย-เยอรมัน Wat Buddhabharami TDKV e.V.  ซึ่งตั้งอยู่ Wöschenhof 11-22045 Hamburg Germany เป็นผู้รับผิดชอบ และมีคุณนันทนี นพชูวงศ์สกุล/เอลเคอมา (ส้ม) ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัด Grevelingen laan 11, 9501RV, Stadskanaal , The Netherlands ประสานงานในทุก ๆ ด้านเพื่อจัดตั้งวัดให้ได้ในเขตภาคเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์

          มีผู้บริหารสมาคมวัดพุทธบารมีนั้นก็คือ พระครูคุณสารโสภณ หรือหลวงพ่อทองพูน เจ้าอาวาสวัดพุทธบารมี ประธานกรรมการที่ปรึกษาบริหารคณะสงฆ์ (ธรรมยุต) ในสหภาพยุโรป ประธานสมาคมวัดพุทธบารมี วัฒนธรรมไทย-เยอรมัน และประธานสมาคมวัดพุทธเมตตาบารมี และพระครูธรรมรัตน์กิจสุนทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพุทธบารมีและเหรัญญิกสมาคมวัดพุทธบารมีไทย-เยอรมัน ร่วมเป็นผู้พลักดันสร้างวัดใหม่ให้เกิดขึ้น

 

 

มีวิธีดำเนินการในการจัดสร้างวัด ดังต่อไปนี้

           1.หาทำเลที่เหมาะสมและมีพื้นที่เพียงพอที่จะสามารถรองรับพทุธศาสนิกชนและผ้สูนใจร่วมกิจกรรมทาง พระพทุธศาสนาและสามารถสร้างเป็นวัดได้ต่อไป

           2.ติดต่อดูสถานที่และนัดเจรจาต่อรองราคา

           3.ดำเนินการระดมหาปัจจัยและหาที่ปรึกษาเพื่อจะสร้างวัดให้แล้วเสร็จเช่น

                 *การโฆษณาผ่านเฟสบ๊คุของทางวัดผ่านเฟสบ๊คุของผ้สูนใจกิจกรรมของทางวัดและผ่านเฟสบุ๊คอื่นๆ

                 * การบอกบุญผ่านไปตามสถานที่จัดงานต่างๆ

                 *สอบถามไปยังวัดในประเทศเนเธอร์แลนด์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกฏระเบียบการสร้างวัด

                 *จัดกิจกรรมเพื่อหาปัจจัยสร้างวัดและให้พุทธศาสนิกชนกับพระสงฆ์ได้ปฏิบัติธรรมร่วมกันเช่น งานวันมาฆบูชา

                 *ผู้มีจิตศรัทธาโอนเงินเข้าบัญชีของทางวัดพุทธบารมีหรือบัญชีพระครูคุณสารโสภณ ประเทศเยอรมนี

หรือบัญชี นันทนี นพชูวงงศ์สกุล ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยระบุ : บริจาคสร้างวัดพุทธบารมี เนเธอร์แลนด์และอื่นๆ

           4.ปัจจัยที่ได้มาหากเพียงพอก็จะจัดซื้อวัดในครั้งเดียว  หากไม่พอก็จะนำวัดเข้าธนาคารผ่อนชำระรายเดือนต่อไป

           5.จดทะเบียนเป็นมูลนิธิพร้อมกับการเซ็นต์สัญญาซื้อสถานที่ที่สร้างวัดต่อไป

           6.บอกบุญผู้มีจิตศรัทธา เพื่อขอแรงกายแรงใจ เพื่อซ่อมแซมบูรณะวัดต่อไป

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

           1.หาเงินปัจจัยจัดซื้อวัดได้ส่วนหนึ่งหรือเต็มจำนวน

           2.พุทธศาสนิกชนและผู้ที่สนใจในพระพุทธศาสนา

           3.จะมีที่ทำกิจกรรมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่ง

           4.จะมีศูนย์กลางความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ  เพิ่มมากขึ้นสำหรับคนไทย

           5.คาดว่าจะได้รับการตอบรับอย่างดีจากพุทธศาสนิกชน

 

          จากวันเริ่มต้นในการสร้างวัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์ จนถึงเวลานี้ได้รับการร่วมมือร่วมใจกันทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายบรรพชิต ซึ่งนำโดยพระครูคุณสารโสภณ หรือหลวงพ่อทองพูน ในฐานะเป็นหัวหน้าโครงการในการจัดสร้างวัดขึั้นในดินแดนแห่งใหม่ หากไม่นับวัดสาขาต่าง ๆ ของวัดพุทธบารมีในเขตประเทศเยอรมัน เช่น วัดพุทธบารมีโบคุม วัดพุทธเมตตาเบรเมนแล้ว วัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์ถือเป็นวัดในสาขาแห่งแรกที่สร้างขึ้นนอกเขตประเทศเยอรมัน

           ฝ่ายฆราวาสก็ได้รับการส่งเสริมและอุปถัมภ์จากคุณโยมนันทนี นพชูวงศ์สกุล/เอลเคอมา (ส้ม) ตลอดทั้งญาติธรรมทั้งประเทศเนเธอร์แลนด์และเยอรมันต่างร่วมด้วยช่วยกันด้วยเจตนาร่วมกันว่าปรารถนาจะให้มีวัดเกิดขึ้นให้จงได้ เพื่อเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่ญาติธรรมทางทิศเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์และแถบประเทศใกล้เคียง

           ในส่วนของพระมหาเถระที่ให้คำแนะนำในการจัดสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จอีกรูปหนึ่ง คือ  พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระเทพพุทธิมงคล (สวัสดิ์ อตฺถโชโต) ประธานสงฆ์วัดพุทธาราม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป ที่แนะนำให้ตั้งเป็น "สมาคม" เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการจัดตั้งวัดในภายภาคหน้า ทำให้คณะผู้บริหารโครงการจัดสร้างวัดพุทธบารมี จึงได้ตกลงร่วมกันจัดตั้งเป็น "มูลนิธิวัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์ วัฒนธรรมไทย-เนเธอร์แลนด์ หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Stichting Wat Buddha Parami Thai-Nederland Culture"  แต่ก็เป็นที่ทราบโดยทั่วกันในหมู่พุทธศาสนิกชนว่า "วัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์" 

           ในวันเปิดวัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์นับเป็นบุญต่อเหล่าชาวพุทธในต่างแดนที่ได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จากพระเดชพระคุณพระราชปัญญาวิสารัท หรือ หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคาโม วัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ที่ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดวัดดังกล่าวด้วย

            วัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากทุก ๆ ฝ่ายโดยเฉพาะคณะญาติธรรมจากประเทศเยอรมัน ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศไทย จนถึงปัจจุบันสถานภาพของวัดได้ปลดชำระหนี้สินจนบริบูรณ์แล้ว (ซึ่งหลวงพ่อทองพูนได้เล่าให้ฟังว่า "ภายหลังมีบุคคลจำนวนมากได้ทราบว่าทางวัดยังค้างชำระหนี้ในการจัดซื้อวัดและที่ดิน จึงได้นำเงินมาถวายเพื่อร่วมสร้างวัดดังกล่าวจนสามารถชำระหนี้ได้เสร็จภายในเวลา ๑๑ วัน สรุป วัดได้ติดหนี้แก่เจ้าหนี้เพียงแค่ ๑๑ วันเท่านั้น นับว่าอัศจรรย์ยิ่งนัก คงเป็นนิมิตหมายที่ดีแม้แต่เหล่าเทพเทวาทั้งหลายต่างก็พลอยอนุโมทนาส่งเสริมกับการมาเผยแผ่พระศาสนาในครั้งนี้ของเหล่าพระสงฆ์ที่ทรงศีลทรงธรรม" จนสามารถชำระหนี้ได้บริบูรณ์"

            วัดพุทธบารมีเนเธอร์แลนด์ จึงเป็นความภาคภูมิใจของชาวพุทธทุกเชื้อชาติ ที่ต่างได้ร่วมกันสร้างวัดเพื่อให้เป็นที่พำนักของเหล่าพระสงฆ์องค์เณรที่มาจากทิศทั้ง ๔ ในฐานะเป็น เนื้อนาบุญอันบริสุทธิ์ หากหว่านพืชลงคราวใดหรือทำทานลงคราวใดก็ย่อมได้อานิสงส์หรือประโยชน์มหาศาล เพราะนาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นนาเกลือ นาไร่ นาข้าว ก็หาสู่้นาบุญไม่ บุญนี้แหละที่จะเป็นมิตรและคอยติดตามเราไปทุกหนทุกแห่งเป็นที่พึ่งแก่เราคอยส่งเสริมสนับสนุนให้เรามีความสุขทั้งกลางวันและกลางคืน สมดังพุทธศาสนสุภาษิต ว่า "ถึงคราวสิ้นชีพ บุญก็ช่วยให้สุขได้" 

 

 

บริเวณวัดในปัจจุบัน (2017)

 

ก่อนจะมาเป็นวัด

 

ศรัทธารวมใจร่วมกันพัฒนา